วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รู้จักกับภาษา Lua

Lua (ลัว) เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า พระจันทร์ เป็นส่วนขยายที่ถูกเขียนด้วยภาษาซีซึ่งเป็ยภาษาการเขียนโปรแกรมแบบ Lightweight คือ มีน้ำหนักเบา เพราะกินหน่วยความจำที่น้อย เหมาะกับการสร้างแอพบนมือถือ และมี Syntax ที่น้อยเช่นกัน รวมทั้งเป็นภาษาการเขียนโปรแกรมแบบหลายกระบวนทัศน์ (multi-paradigm programming language) จึงสามารถคอมไพล์ให้รันทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ด้วย ANSI C
Lua ถูกพัฒนาขึ้นโดยการรวมความสามารถกับภาษาอื่น และมุ่งเน้นในสิ่งที่ ภาษาซีทำไม่ได้ เช่น การระยะห่างในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ที่ดี มีโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช้หน่วยความจำเปลือง ทดสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดได้ง่าย มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย จัดการหน่วยความจำอัตโนมัติ จัดการสตริงและข้อมูลชนิดอื่นๆ ที่มีขนาดแบบไดนามิก คือปรับเปลี่ยนขนาดได้ตามข้อมูล

จุดเด่นของลัว คือ ง่าย มีประสิทธิภาพ ขยายขีดความสามารถได้ นำไปรันบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้ และเป็นภาษาที่ใช้งานได้ฟรี

การนำลัวไปใช้งาน ได้แก่ สร้างเกม สร้างสคริปต์ที่ใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น สคริปต์ที่รันบนเว็บ เป็นส่วนขยายการทำงานในระบบฐานข้อมูล และระบบรักษาความปลอดภัยคล้ายกับระบบตรวจจับการบุกรุก เป็นต้น

เตรียมระบบก่อนเขียนโปรแกรม Lua ลัว

การเขียนโปรแกรมภาษาลัว จำเป็นจะต้องใช้งานซอฟต์แวร์ ดังนี้

1. Text Editor สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows สามารถใช้ Notepad และอาจจะใช้ vim หรือ vi ที่สามารถใช้บน Windows, Linux หรือ Unix ได้เป็นอย่างดี

2. Lua Interpreter เป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่สามารถรันคำสั่งของลัวได้ทันทีและหยุดการทำงานของไฟล์โปรแกรมลัวได้เมื่อพบข้อผิดพลาด ซึ่งแตกต่างจากการใช้คอมไพเลอร์

3. Lua Compiler ใช้สำหรับคอมไพล์โปรแกรมให้ทำงานเป็นส่วนขยายร่วมกับโปรแกรมหรือภาษาอื่น

IDE สำหรับเขียนโปรแกรมภาษา Lua ลัว

Windows ให้ใช้โปรแกรม SciTE ดาวน์โหลดมาติดตั้งได้จาก https://code.google.com/p/luaforwindows แล้วไปที่แท็บ Download จากนั้นให้ติดตั้งโปรแกรม แล้วสามารถเขียนโค้ดโปรแกรมและบิ้วโปรแกรมได้ เมื่อติดตั้งแล้วจะมีหน้าตาโปรแกรมดังนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น